Welcome to My Blog Somsiri rattanarat รหัสนักศึกษา 5942040020 วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษา
Posted by : Unknown วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560


รูปแบบกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process Model) องค์ประกอบหลักของกระบวน  การจัดการความรู้ ประกอบด้วย การสร้างและถ่ายโอนความรู้ ดังเช่น SECI Model หรือ Knowledge  Spiral ดังที่กล่าวมาแล้ว และได้มีการกล่าวถึง ทาเกชิ (Takeuchi) และ นาโนกะ (Nanoka) ซึ่งได้  พัฒนาการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้และการจัดเก็บความรู้ขึ้น อีกท่านหนึ่งคือ อลัน ฟรอสท์   (Alan Frost. 2010) ได้กำหนดขั้นตอนกรอบการจัดการความรู้(KM Framework) ประกอบ  ด้วย การระบุความต้องการ (Identification of needs) การกำหนดแหล่งความรู้ (Identification   of knowledge resources) การแสวงหาและสร้างความรู้ (Acquisition , creation or elimination  of knowledges) การดึงความรู้มาใช้และแบ่งปัน (Retrieval , application and sharing knowledge) และการจัดเก็บความรู้ (Storage of knowledge) สำหรับในประเทศไทยได้มีการกำหนดรูป แบบของการทำ KM โดยใช้ framework และ model เหล่านี้เช่นกัน แต่ได้จัดทำรายละเอียดและขั้นตอนให้ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ ดังนี้

1.รูปแบบการจัดการความรู้ตามแนวทางสำนักงาน ก.พ.ร. ประกอบด้วยกระบวนการจัดการ  ความรู้ 7 ขั้นตอน  และกระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง 6 องค์ประกอบ (ดังภาพ) มีรายละเอียดต่อไปนี้


 กระบวนการจัดการ ความรู้ ขั้นตอน

กระบวนการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1) การบ่งชี้ความรู้ เป็นการระบุเกี่ยวกับความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมีต้องใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร ได้แก่ ความรู้อะไรบ้าง ความรู้อะไรที่มีอยู่แล้ว อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2) การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เดิม แยกความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป มีหลายแนวทาง เช่น ใช้ SECI model น า บุคลากรที่ มีความรู้และประสบการณ์ต่างกันมาประชุม/ท างานร่วมกัน จ้างคนที่มีความรู้มา ท างานในองค์กรจ้างที่ปรึกษา
3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เช่น กฎ ระเบียบ ขั้นตอนการทำงาน ฯลฯ กำหนดวิธีการจัดเก็บและค้นคืน เพื่อให้สืบค้น เรียกคืน และนำไปใช้ได้สะดวก
4)การประมวลและกลั่นกรองความรู้เป็นการกลั่นกรองความถูกต้องครบถ้ว ทันสมัย    ใช้งานได้ของความรู้ ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกันปรับปรุง เนื้อหาให้สมบูรณ์
5)การเข้าถึงความรู้เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นการน าความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาแลกเปลี่ยนเคล็ดลับ เทคนิคการทำงาน เทคนิคการแก้ปัญหา หรือปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน สำหรับความรู้ ที่ชัดแจ้ง Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนความรู้ที่ฝังในตัวคน Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรม กลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนนักปฏิบัติ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว (ผู้เชี่ยวชาญจากที่หนึ่งไปปฏิบัติงานในอีกที่หนึ่ง) เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

7)การเรียนรู้เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนหรือสืบค้นไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน แล้วเกิดความรู้ใหม่นำมาเข้าระบบจัดเก็บหรือแบ่งปันแลกเปลี่ยน ก็จะได้องค์ความรู้ ใหม่ให้ใช้ประโยชน์ ต่อไปได้เรื่อยๆ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากวงจร“สร้างองค์ความรู้>นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ ใหม่” และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบ



แหล่งที่มา สำนักงานสนับสนุนการจัดการความรู้ กรมอนามัย



Leave a Reply

Subscribe to Posts | Subscribe to Comments

- Copyright © เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการความรู้ - Blogger Templates - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -