Welcome to My Blog Somsiri rattanarat รหัสนักศึกษา 5942040020 วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษา
Posted by : Unknown วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560




การจัดการความรู้
บทความนี้เพื่อคนทำงานทั้งระดับปฏิบัติและบริหารที่ต้องการเรียนรู้เรื่อง การจัดการความรู้ โดย เน้นมุมมองใกล้ตัวที่ง่าย สั้น และกระชับ เป็นจุดเริ่มสำหรับการศึกษาให้กว้างขวางลึกซึ้งต่อไป อัน ประกอบด้วย ประเด็นต่างๆ ดังนี้ (1) ความสำคัญของการจัดการความรู้ (2) ความหมายของการจัดการ ความรู้ (3) รูปแบบ/แนวทางดำเนินการ (4) ปัจจัยของความสำเร็จ (5) ตัวอย่างการจัดการความรู้ใน องค์กร
การกล่าวถึง องค์กร ในที่นี้หมายถึง สถาบันการศึกษา (มหาวิทยาลัย ฯลฯ) องค์กรภาครัฐ (กระทรวง กรม ฯลฯ) องค์กรภาคเอกชน (กลุ่มบริษัท บริษัท ห้าง ฯลฯ) และองค์กรภาคประชาสังคม (มูลนิธิ เครือข่าย กลุ่ม ฯลฯ) ส่วนคำว่า ความรู้นั้น หมายถึง ความรู้ที่ใช้ในการท างานภายในองค์กร เหล่านั้น ดังนั้น ผู้ใดทำงานในองค์กรใด ไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติงานหรือผู้บริหารก็ต้องมีส่วนในการจัดการ ความรู้ อาจจะอยู่ในฐานะที่เป็น เครื่องมือ หรือ “ตัวช่วย” ให้สามารถทำงานได้มากขึ้นและดีขึ้น โดยการ สร้างความมั่นใจ สะดวก ง่าย รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลที่ตามมาคือ องค์กรอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนใน สถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูงอย่างในปัจจุบัน
ทำไมต้องมีตัวช่วย “การจัดการความรู้” โลกยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านต่างๆ เช่น สารสนเทศ ความรู้ เทคโนโลยี การตลาด ความต้องการของลูกค้า คู่แข่ง ฯลฯ โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่ สำคัญๆ ได้แก่สินค้าและการผลิตที่ต้องพึ่งพาความรู้และสารสนเทศ เช่น สินค้าไฮเทคต่างๆ มีความสำคัญทั้งด้าน คุณค่าและมูลค่ามากกว่าสินค้าและการผลิตที่พึ่งพาแรงงาน เครื่องจักร และทรัพยากรธรรมชาติการแข่งขันเปลี่ยนจากใครมีขนาดใหญ่กว่ามาเป็นใครเร็วกว่าความได้เปรียบด้านการผลิตที่อาศัยความรู้ ทักษะและเทคโนโลยี สำคัญกว่าด้านเครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ความคิดสร้างสรรค์ใช้สร้างความได้เปรียบได้ดีกว่าการใช้ทุนการสร้าง การกระจาย และการใช้ความรู้ซึ่งอาจเรียกรวมกันว่าการจัดการความรู้ กลายเป็นตัว ขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการเติบโต สร้างความมั่งคั่ง และสร้างงานใน อุตสาหกรรมทุกรูปแบบ
ในปัจจุบันการทำงานก็มีปัญหาเกี่ยวกับความรู้ เช่นเวลามีปัญหาในการท างานไม่ทราบว่าจะไปถามผู้ที่เก่งในเรื่องนั้นๆ ได้ที่ไหนการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ทำในวงแคบ เฉพาะคนที่สนิทสนมกันเท่านั้นไม่ได้ถือว่าการแลกปันความรู้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน จึงต้องให้มีปัญหาเสียก่อนถึงจะมีการแลกปัน และจะแลกปันกันเฉพาะเรื่องที่เป็นปัญหาเท่านั้นไม่มีการเผยแพร่แบ่งปันความรู้ที่ได้จากการไปร่วมประชุม อบรม สัมมนา ให้แก่คนอื่นๆ ที่ไม่ได้ไปการค้นหาข้อมูลที่ต้องการส่วนใหญ่ใช้เวลานาน หาไม่ค่อยพบข้อมูลที่หาได้มักจะไม่ทันสมัย ไม่สมบูรณ์หรือไม่ตรงตามความต้องการการท างานไม่เกิดการต่อยอดงาน ต้องเริ่มที่ศูนย์อยู่เรื่อยไปมักมีการท างานผิดพลาดซ้าๆ ในเรื่องเดิมๆ เพราะขาดความรู้ที่ถูกต้องไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ส่วนมากจะซ้าๆ กันการฝึกอบรมอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะจะมีการนำไปใช้ประโยชน์แค่ 10 % และภายใน 2 สัปดาห์ หากไม่ได้นำกลับมาใช้อีก ทักษะหรือความรู้ต่างๆ จะหายไปร่วม 87 % • ความรู้อยู่ที่ตัวบุคลากร เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เกษียณอายุ ลาออก ย้าย เปลี่ยนหน้าที่ ก็เกิดผล กระทบกับงานและองค์กรองค์กรมี“วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ” หรือ “Best Practice” แต่ไม่ค่อยนำมาใช้ไม่เคยนำไปขยายผลให้กับ หน่วยงานอื่น และบางทีองค์กรก็ไม่รู้ว่า Best Practice ของตนคืออะไรองค์กรไม่มีการเก็บรวบรวมประสบการณ์ที่ได้จากการท างานโดยเฉพาะการดำเนินโครงการสำคัญๆ

แหล่งที่มา บุญดี บุญญากิจ และคณะ. การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จ ากัด, 2549 (p.6-11 ความส าคัญของ KM) 



Leave a Reply

Subscribe to Posts | Subscribe to Comments

- Copyright © เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการความรู้ - Blogger Templates - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -